DEXA

บริการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเทคนิค Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner

เครื่องตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกแบบ DEXA BMD แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ

     Forearm ตรวจกระดูกแขน

      Hip ตรวจสะโพก

      Spines ตรวจกระดูกสันหลัง

      Whole Body ตรวจทั้งร่างกาย

 

*ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำแนะนำสำหรับการตรวจ 
 02-9539469  089-9898777

การแปรผลการตรวจ

ค่าความหนาแน่นมวลกระดูกที่วัดได้มีหน่วยเป็น มวล/ตารางพื้นที่กระดูก (g/sq. cm, กรัม/ตารางเซนติเมตร) เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จากค่าที่วัดได้นี้จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติในกลุ่มคนที่เป็นวัยหนุ่มสาว (young-adult mean) อายุ 30-40 ปี ที่มีเชื้อชาติเดียวกันหรือเชื้อชาติที่ใกล้เคียงกัน เป็นจำนวนของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เรียกว่า T- score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าในการวินิจฉัย โรคโดย

 

  • ค่า T score ที่สูงกว่า -1 (ลบ 1) ถือว่าความหนาแน่นกระดูกปกติ
  • ค่า T score ที่อยู่ต่ำกว่า -1 แต่สูงกว่า -5 ถือว่ากระดูกบาง(Osteopenia)
  • ค่า T score ที่ต่ำกว่า -5 ถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)

 

ในกรณีที่ต้องการตรวจซ้ำเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นมวลกระดูก ควรตรวจด้วยเครื่องตรวจเดิม เนื่องจากเครื่องตรวจแต่ละเครื่องอาจจะ ใช้เทคโนโลยี่ในการวัดที่แตกต่างกัน  มีค่าอ้างอิง(reference) แตกต่างกัน  มีความแปรปรวนในการวัดที่ต่างกัน  ทำให้ผลตรวจไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกันได้   ส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่ตรวจความหนาแน่นกระดูกซ้ำเร็วกว่า 1 ปี  เนื่องจากผลความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะน้อยเกินไปที่จะแปลผลได้

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

• ควรบอกแพทย์หรือนักรังสีเทคนิคหากสงสัยว่าตั้งครรภ์ จะไม่ทำการตรวจในหญิงตั้งครรภ์
• ควรปรึกษาแพทย์หากเคยได้รับการกลืนแร่ หรือได้รับสารทึบแสง เพื่อทำ CT scan มาก่อน ซึ่งอาจจะต้องเลื่อนการตรวจออกไปประมาณ 2 สัปดาห์
• ในวันตรวจสามรถรับประทานอาหารและน้ำได้ปกติ

ขั้นตอนการตรวจ
เปลี่ยนเสื้อผ้า และถอดอุปกรณ์ที่เป็นโลหะออกจากร่างกายและนอนลงบนเครื่องตรวจ จะใช้เวลาตรวจประมาณ 10-15 นาที

แนะนำให้ตรวจความหนาแน่นกระดูกอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มคนต่อไปนี้

• ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป
• ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19
• มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
• มีประวัติเคยมีกระดูกสะโพกหัก กระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกหักที่ตำแหน่งอื่นๆจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง
• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่มีส่วนสูงลดลง มากกว่า 3 เซ็นติเมตร
• ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด เป็นประจำ
• ผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
• ผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ และโรคต่อมพาราไทรอยด์
• ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่อาการของภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย
• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่เป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
• ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาเสตียรอยด์ ยารักษาโรคไทรอยด์ ยารักษาโรคลมชัก ยารักษามะเร็ง ฯลฯ

ข้อมูลติดต่อ
โทร : 02-953-9469
สายด่วน : 089-989-8777