แกว่งแขนช่วยลดพุง แต่หากแกว่งแรงเสี่ยงบาดเจ็บเส้นเอ็นไหล่

การออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขนกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้สูงวัย  พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมักจะได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายที่ผิดวิธีเช่น ได้รับบาดเจ็บที่เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด กล้ามเนื้อหัวไหล่อักเสบ หรือมีอาการหัวไหล่ติด

โดยทั่วไปคนไข้ที่แกว่งแขนแล้วได้รับบาดเจ็บที่หัวไหล่ อาจเป็นวัยหนุ่มสาวที่ออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขนมากเกินไป หรือผู้สูงวัยที่เอ็นข้อไหล่อาจไม่แข็งแรงเท่าคนหนุ่มสาวเหล่าผู้สูงวัยจะใช้วิธีการแกว่งแขนโดยการแกว่งไปข้างหน้าช้าๆ แล้วสะบัดไปข้างหลังแรงๆ ในจังหวะที่สะบัดอาจจะสะบัดแรงมากเกินไป ในขณะสะบัดตำแหน่งของข้อไหล่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม หรือในผู้ป่วยรายนั้น ๆ อาจมีข้อไหล่ติดยึดเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ก่อนแล้ว หรือมีอาการบาดเจ็บเรื้อรังของข้อไหล่ร่วมด้วย

แกว่งแบบนี้อาจบาดเจ็บ

  • แกว่งแรงจนเกินไป
  • คว่ำหรือหงายมือ ไม่ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติ
  • แกว่งแขนพร้อมกับย่อเข่าและมีการขย่มตัวขึ้นลงเบาๆ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บข้อเข่าได้

 

*ผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ไม่ควรที่จะแกว่งแขนเพื่อออกกำลังกาย

ท่านสามารถ CHECK UP ร่างกายได้ด้วยการตรวจ MRI SHOULDER RT/LT (หัวไหล่) เพื่อตรวจเช็คหาความผิดปกติของเส้นเอ็นไหล่ กล้ามเนื้อไหล่อักเสบ หรืออาการบาดเจ็บที่หัวไหล่จากการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ