ภาวะโจ๊กเกอร์ไม่ได้ป่วยทางจิต แต่มีปัญหาทางด้านสมอง

Pseudobulbar affect (PBA) หรือ “ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ ” หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ภาวะโจ๊กเกอร์ เนื่องจากเป็นอาการป่วยเดียวกับตัวร้ายในภาพยนตร์ชื่อดังอย่างโจ๊กเกอร์คู่ปรับตัวร้ายของแบทแมน แต่ถ้าจะกล่าวถึงโจ๊กเกอร์สิ่งแรก ๆ ที่ผู้คนมักจะนึกถึงคงจะเป็นใบหน้าสีขาวพร้อมรอยยิ้มสีแดงและการแต่งหน้าที่ดูเหมือนกับตัวตลกตามมาด้วยเสี่ยงหัวเราะชวนหลอนที่เกิดจาก “ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้”  ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการทางจิตอย่างที่หลายคนเข้าใจซะทีเดียว

Pseudobulbar affect (PBA) คือ ภาวะการแสดงอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้มักจะแสดงอาการออกมาทั้งหมด 2 แบบ คือ การร้องไห้ผิดปกติ (Pathological crying) และการหัวเราะผิดปกติ (Pathological laughing) ทั้งนี้การแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือผู้ป่วยจะห้ามไม่ให้ตัวเองหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ แม้ว่าจะไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือสนุกอะไรเลยตามสถานการณ์นั้น ภาวะนี้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

อาการ

  • มีการร้องไห้หรือหัวเราะรุนแรงควบคุมไม่ได้
  • การร้องไห้หรือหัวเราะนั้นไม่เข้ากับสถานการณ์
  • การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์
  • อาการเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้
  • อาจเกิดได้หลายครั้งต่อวัน

ความเสี่ยง

สาเหตุของ Pseudobulbar affect (PBA) เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal contex) อาจเคยได้ประสบอุบัติเหตุทางสมองอย่างรุนแรง หรือผลข้างเคียงที่พบได้จากโรคทางสมองต่าง ๆ ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคความจำเสื่อม
  • โรคพาร์กินสัน
  • เนื้องอกสมองบางชนิด
  • โรคปลอกประสาทเสื่อม

หากท่านมีความเสี่ยงของโรคทางสมองเหล่านี้ แนะนำตรวจ MRI MRA Brain (ตรวจเนื้อสมองและเส้นเลือดแดงสมอง) เพื่อตรวจหาโรคและความผิดปกติที่ทำให้เกิดปัญหาที่สมองส่วนหน้า ตรวจก่อน รู้ทัน รักษาได้ ไม่ลุกลาม

ข้อมูลจาก :กรมสุขภาพจิต