หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด อันตรายอย่ามองข้าม

หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด (Miniscus tear) จากการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือจังหวะการบิดหมุนที่ผิดท่า อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่าหรือปวดบริเวณข้อพับ หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นมากกว่าผู้สูงอายุ และโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการเล่นกีฬาที่ต้องอาศัยความเร็วมีการชน และการกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล อเมริกันฟุตบอล เป็นต้น 

หมอนรองข้อเข่ามีหน้าที่รับแรงกระแทกของร่างกายขณะยืน เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่มีการใช้น้ำหนักกดลงบนข้อเข่า หมอนรองข้อเข่าอยู่ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ในข้อเข่าหนึ่งข้างจะมีหมอนรองข้อเข่าทั้งหมด 2 ส่วน คือ หมอนรองข้อเข่าด้านใน (Medial meniscus) ที่มีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว และหมอนรองข้อเข่าด้านนอก (Lateral meniscus) ที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลมเกือบสมบูรณ์ นอกจากนี้หมอนรองกระดูกข้อเข่ายังมีหน้าที่ในการลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง (Shock absorber) เพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า (Load transferring) และเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของข้อเข่า (Join lubrication)

อาการ

  • มีอาการปวดอย่างรุนแรง
  • มีอาการปวดบริเวณด้านหน้าเข่า หรือบริเวณหลังข้อพับ
  • เมื่องอเข่าและหมุนเข่าพร้อมกันจะมีอาการปวดมากขึ้น
  • ข้อเข่าฝืดรู้สึกติดขัดเวลาเคลื่อนไหว
  • เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด
  • ข้อเข่ามักติดอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง
  • สามารถเดินหรือเล่นกีฬาได้ แต่เมื่อใช้งานเข้าต่อเนื่องอาจเกิดอาการบวม เข่าอ่อน หรือทรุดได้

ความเสี่ยง

  • การบิดหมุนอย่างกะทันหันของข้อเข่า โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเล่นกีฬา
  • อุบัติเหตุที่เกิดการปะทะโดยตรงบริเวณข้อเข่า
  • การนั่งยอง ๆ หรือจังหวะลุกนั่งเข่ามีลักษณะบิดหมุน
  • เกิดร่วมกับการบาดเจ็บของเส้นเอ็นในข้อเข่า เช่น เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด

หากท่านมีอาการดังกล่าว ขอแนะนำตรวจ MRI Knee (ตรวจส่วนข้อเข่า) เพื่อตรวจดูความเสียหายของหมอนรองข้อเข่า และเอ็นไขว้หน้าเข่า เพราะสามารถตรวจดูข้อเข่าและเส้นเอ็นได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความรุนแรงของอาการและทำการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ