ปวดหัวรุนแรงหลังตื่นนอน…..เสี่ยงภาวะน้ำในสมองเกิน

ภาวะน้ำในสมองเกิน (Hydrocephalus) เป็นภาวะที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป ทำให้โพรงสมองขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนเกิดการกดทับทำลายเนื้อสมอง จึงเป็นเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติจนพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาบกพร่อง โดยทั่วไปภาวะน้ำในสมองเกินมักเกิดขึ้นกับเด็กทารกและผู้สูงอายุ

อาการของภาวะน้ำในสมองเกิน

ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคและช่วงอายุของผู้ป่วย

ภาวะน้ำในสมองเกินในเด็กหรือผู้ใหญ่

  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงหลังตื่นนอน
  • ปวดคอ
  • คลื่นไส้พะอืดพะอม โดยมีอาการรุนแรงขึ้นในตอนเช้า
  • มองเห็นเลือนรางหรือเห็นภาพซ้อน
  • สับสนมึนงง
  • มีปัญหาด้านการจำ การควบคุมสมาธิ และทักษะการคิด
  • มีปัญหาในการเดิน การทรงตัว
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่บางรายอาจกลั้นอุจจาระไม่ได้ด้วย
  • ตื่นยาก ง่วงซึม อาจร้ายแรงถึงขั้นโคม่าหรือหมดสติขั้นรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นใด ๆ ได้

ภาวะน้ำในสมองเกินชนิดความดันปกติในผู้สูงอายุ

  • ปวดศีรษะ
  • มีปัญหาในการเดินและการทรงตัว
  • ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • มีปัญหาในการจำ การคิด และการใช้เหตุผล
  • ตอบสนองช้า
  • ภาวะสมองเสื่อม

 

สาเหตุของภาวะน้ำในสมองเกิน

สาเหตุของภาวะน้ำในสมองเกินนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด ส่วนมากมีสาเหตุมาจากอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่กระทบต่อสมองทำให้เกิดการอุดตันในสมองจนน้ำในโพรงสมองไม่สามารถระบายไปยังส่วนต่าง ๆ ได้ เมื่อสมองผลิตน้ำหล่อเลี้ยงออกมามากเกินไป หรือหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถดูดซับน้ำได้ตามปกติสาเหตุเหล่านั้นจึงทำให้เกิดภาวะน้ำในสมองเกิน

สาเหตุภาวะน้ำในสมองเกินในเด็กหรือผู้ใหญ่

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • เส้นเลือดในสมองแตก – ตีบ – ตัน
  • ภาวะเลือดออกในสมอง เช่น เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันในสมอง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เนื้องอกในสมอง
  • ทางผ่านของน้ำในสมองแคบตั้งแต่กำเนิด ทำให้กีดขวางการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง

 

สาเหตุภาวะน้ำในสมองเกินชนิดความดันปกติในผู้สูงอายุ (โดยหาสาเหตุไม่ได้อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้)

  • สมองได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน
  • ภาวะเลือดออกในสมอง
  • ภาวะติดเชื้อ
  • การเจ็บป่วยที่กระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน

 

หากท่านมีอาการขอแนะนำตรวจเช็คด้วยการทำ  MRI Brain (ตรวจส่วนสมอง) หรือ  CT Brain (ตรวจส่วนสมอง) เพราะสามารถตรวจดูของเหลวที่ก่อตัวขึ้นในสมอง แรงกดที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของโพรงสมอง และโครงสร้างของสมองที่บกพร่องได้เป็นอย่างดีทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ