สูบบุหรี่นานแค่ไหนถึงเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

การสูบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นปริมาณที่น้อยหรือมากย่อมสามารถส่งผลต่อสุขภาพไม่ว่าช้าหรือเร็ว สำหรับผู้ที่มีความคิดที่ว่า “สูบไม่เยอะหรอก แค่นี้เอง ไม่เป็นอะไรแน่นอน” อาจจะต้องลองคิดดูใหม่แล้วว่าการสูบบุรี่ที่ผ่านมาทำร้ายปอดของคุณไปมากมายแค่ไหน

หากพูดถึงการสูบบุหรี่แล้ว “โรคมะเร็งปอด” คงจะเป็นโรคแรก ๆ ที่ถูกนึกถึง เนื่องจากควันบุหรี่ที่ถูกสูบเข้าไปในร่างกายนั้นประกอบไปด้วยสารเคมีประมาณ 4,000 ชนิด รวมไปถึงสารก่อมะเร็งที่มีมากถึง 60 ชนิด เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์, ทาร์, สารหนู (Arsenic) และสารตะกั่วที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีสารนิโคตินที่เป็นสารเสพติดในยาสูบตามธรรมชาติ ตัวสารนิโคตินสามารถทำให้เกิดการเสพติดในผลิตภัณฑ์ยาสูบ อย่างบุหรี่ได้อีกด้วย

 

แล้วสูบบุหรี่มากแค่ไหนถึงเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดกัน ในทางการแพทย์นั้นทำการนับหน่วยการเฉลี่ยในการสูบบุหรี่เป็นแพ็คเยียร์ (pack-year) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้

                             แพ็คเยียร์ = จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบใน 1 วัน x จำนวนปีที่สูบบุหรี่

                                                                      20

 

ค่าแพ็คเยียร์สามารถบอกบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ จากการสูบบุหรี่ได้ โดยความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะเพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมากเมื่อมีการสูบบุหรี่มากกว่า 30 แพ็คเยียร์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ 60 มวล (3ซอง) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 10 ปี หรือ สูบบุหรี่ 20 มวล (1ซอง) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 30 ปี ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดเท่ากันที่ 30 แพ็คเยียร์ แต่ถ้าหากท่านมีอาการต้องสงสัยของโรคมะเร็งปอดอย่างเช่น

  • ไอเป็นเลือด หายใจแล้วเหนื่อย
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆหรือมีเสียงวี๊ดๆเมื่อหายใจ
  • เสียงแหบปวดศีรษะ หน้าบวม แขนบวม
  • ปวดแขนและไหล่ มืออ่อนแรง
  • หนังตาตก
  • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
  • ปวดกระดูก หรือกระดูกหักง่าย
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย เช่น เป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ

 

ขอแนะนำตรวจ Low-dose CT Scan (ตรวจปอด) เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด เพราะสามารถแสดงภาพของปอดและร่องรอยของโรคได้ชัดเจนมากกว่าการเอกซเรย์  (X-rays) รวมไปถึงการได้รับรังสีที่น้อยกว่าอีกด้วย