ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือกลุ่มอาการที่เกิดจากระบบการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลง หรือมีความบกพร่องซึ่งผู้ป่วยไม่ได้มีเพียงแค่ความบกพร่องในด้านความทรงจำเท่านั้น แต่จะรวมถึงด้านการใช้ความคิด การตัดสินใจ การทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ การใช้ภาษา หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ โดยส่วนมากภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุวัย 65 ปี ขึ้นไปโดยความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ
อาการของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดหรือกระบวนการรับรู้
- เสียความทรงจำ มีปัญหาในการจดจำเหตุการณ์ ผู้คน หรือสถานที่
- มีปัญหาในการให้เหตุผล หรือการแก้ไขปัญหา
- มีปัญหาในการสื่อสาร การใช้คำและภาษา
- มีปัญหาในการวางแผนและจัดการการงานต่าง ๆ
- มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวประสานงานกันของกล้ามเนื้อ
- มีความสับสน มึนงง เลอะเลือน
- การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ
- มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ซึมเศร้า
- เกิดความวิตกกังวล
- มีความหวาดระแวง
- ภาวะกายและใจไม่สงบ กระสับกระส่าย
- มีอาการประสาทหลอน
ภาวะสมองเสื่อมบางประเภทอาจทำให้เกิดอาการเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) มักจะเกิดอาการเห็นภาพหลอนชัดเจน หรือสมองเสื่อมชนิด FTD (Frontotemporal Dementia) อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะนี้อาจไม่สามารถแสดงความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ได้หรืออาจชอบพูดจาหยาบคาย เปิดเผยตัวเอง หรือให้ความเห็นเรื่องทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง
ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
- อายุ 65 ปี ขึ้นไป
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นสมองเสื่อม
- ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง
- ดาวน์ซินโดรม
- โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคซึมเศร้า
- การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จัด
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น2 ประเภท ดังนี้
- สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติ
- โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
- ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
- สมองเสื่อมชนิด FTD (Frontotemporal Dementia) อาการที่พบผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
- โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ
- สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่อาจรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้
- ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
- การขาดวิตามิน บี 12
- ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- เนื้องอกในสมองบางชนิด
- ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
- สมองอักเสบ
- ราเรื้อรัง
- เอดส์ (HIV)
โรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม
- โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมกับระบบประสาทและส่งผลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 30-40 ปี
- สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง มักจะเกิดกับนักมวยหรือนักฟุตบอล ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมและทำให้มีอาการเสียความทรงจำ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
- โรควัวบ้า (Creutzfeldt-Jakob Disease) มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์หรือการสัมผัสกับโรคสมองหรือเนื้อเยื่อระบบประสาทที่เป็นโรค เช่น เนื้อสมองจากวัวที่เป็นโรค
หากท่านมีอาการขอแนะนำตรวจ MRA Brain (ตรวจเส้นเลือดแดงในสมองและ