ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax) คือภาวะที่มีอากาศเข้าไปแทรกอยู่ตามช่องภายในปอดจนไปเบียดเนื้อปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่และทำงานได้ไม่ดีจนส่งผลต่อการหายใจของผู้ป่วย
ภาวะปอดรั่วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- ภาวะปอดรั่วจากอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากการได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนทำให้ลมจากภายนอกเข้าสู่ช่องปอด
- ภาวะปอดรั่วจากสาเหตุอื่นอาจเกิดจากอาการเจ็บป่วยซึ่งส่งผลกระทบต่อปอดโดยตรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง การติดเชื้อ โรคมะเร็งปอด โรคทางพันธุกรรมบางชนิด หรือโรคหอบหืด บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือสัญญาณเตือนใด ๆ
ภาวะปอดรั่วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ อาการเจ็บป่วย หรือเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาทางการแพทย์ โดยสาเหตุที่อาจพบได้มีดังนี้
- การบาดเจ็บบริเวณหน้าอกเนื่องจากอุบัติเหตุเช่น ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรงบริเวณหน้าอก
- การถูกอาวุธหรือของมีคมการถูกยิงหรือถูกแทงบริเวณปอด
- การรักษาทางการแพทย์อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างปอดรั่ว เช่น การผ่าตัด การส่องกล้อง การใส่ท่อระบายของเหลวในทรวงอก
- โรคเกี่ยวกับปอดผู้ป่วยโรคปอดที่มีเนื้อเยื่อปอดเสียหายเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ปอดบวม การติดเชื้อที่ปอด โรคมะเร็งปอด โรคหืด และโรคไอกรน
- การดำน้ำลึกหรือการขึ้นที่สูงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้ เนื่องจากในน้ำลึกและบนที่สูงนั้นมีแรงดันอากาศเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะนี้ตามมา
อาการเตือนภาวะปอดรั่ว
- หายใจได้ไม่เต็มที่
- เจ็บแปลบบริเวณหน้าอกโดยเฉพาะเวลาหายใจเข้า
- แน่นหน้าอก
- หายใจถี่หรือหายใจหอบเหนื่อย
- ผิวหนังบางตำแหน่งบนร่างกายเกิดการเขียวคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- อ่อนเพลียง่าย
- วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นผิดปกติ
- เกิดภาวะช็อก
** อาการของภาวะปอดรั่วจะแสดงให้เห็นทันทีอาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุก็ได้ และในบางกรณีภาวะนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต **
หากท่านมีอาการขอแนะนำตรวจ Low-dose CT Scan (ตรวจปอด) เพื่อแยกโรคที่ไม่ใช่สาเหตุรวมทั้งตรวจดูความผิดปกติของเนื้อปอดและอวัยวะข้างเคียงเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค เพราะสามารถแสดงภาพของปอดและรอยโรคได้ชัดเจนมากกว่าการเอกซเรย์ (X-rays) รวมไปถึงการได้รับรังสีที่น้อยกว่า