ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) คืออาการปวดช่องท้องด้านล่างบริเวณอุ้งเชิงกราน อาการปวดท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณจากการติดเชื้อ การอักเสบ การบาดเจ็บที่อวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ หรืออาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน แต่อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงโดยส่วนมากมักจะเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
โรคที่มักจะเกิดอาการปวดท้องน้อยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือโรคจากระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง และโรคในช่องท้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง
โรคจากระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยคือ
- ภาวะอักเสบภายในอุ้งเชิงกราน
- การท้องนอกมดลูก
- พบว่ามีซีสต์ในรังไข่ หรือรังไข่มีความผิดปกติ
- ท่อนำไข่เกิดการอักเสบ
- พบว่ามีเนื้องอกในมดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก
โรคในช่องท้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง
- ความผิดปกติของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไส้เลื่อน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ท้องผูกเรื้อรัง
- ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
- อาการเจ็บป่วยบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดเกร็ง (Pelvic Floor Muscle Spasm)
- ความผิดปกติบริเวณอุ้งเชิงกราน
- กระดูกเชิงกรานร้าว หรือแตกหัก
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นหนองในแท้ หนองในเทียม
- ภาวะติดเชื้อในไต หรือมีนิ่วในไต
- ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท
- โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- ภาวะเจ็บป่วยในระบบสืบพันธุ์เพศชาย เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ
อาการปวดท้องน้อยอาจมีลักษณะปวดเสียด ปวดหน่วง ๆ ปวดแปลบ ๆ โดยอาจมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแล้วหายไป หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื้อรังก็ได้โดยลักษณะของอาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการป่วย แต่ถ้าหากเกิดอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงกะทันหัน มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอาการปวดท้องน้อยคู่กับอาการดังต่อไปนี้
- ปวดประจำเดือน หรือปวดเกร็งในขณะมีประจำเดือนและอาการแย่ลงเรื่อย ๆ
- มีเลือด หยดเลือด หรือตกขาวไหลออกจากช่องคลอด
- เจ็บปวดในขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะลำบาก ติดขัด
- ท้องผูกหรือท้องร่วง
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือเรอ
- มีเลือดออกในขณะขับถ่าย
- เจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีไข้ หรือหนาวสั่น
- ปวดบริเวณสะโพก หรือขาหนีบ
ขอแนะนำให้เข้ารับการตรวจ MRI Lower Abdomen (ตรวจช่องท้องส่วนล่าง) เพื่อหาสาเหตุของอาการเพราะการตรวจสามารถแสดงภาพความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจนทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น