เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัย 25 ไปจนถึง 40 – 50 ปลาย ๆ น่าจะเริ่มได้ยินคำว่า “ซีสต์” กับ “เนื้องอก” บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะมาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปีของตัวเอง หรือมาจากการเจ็บป่วยของเพื่อนรอบกายที่เริ่มต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดไปทีละคน หลายคนคงเคยสับสนถึงความแตกต่างระหว่าง “ซีสต์” กับ “เนื้องอก” เพราะทั้งสองโรคต่างก็มีอาการที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกัน รวมถึงระดับความอันตรายก็แตกต่างกันอีกด้วย
“ ซีสต์ ” กับ “ เนื้องอก ” ต่างกันตรงไหน ?
- ชีสต์ คือก้อนเนื้อหรือตุ่มที่เจริญเติบโตบนร่างกาย โดยภายในชีสต์มีลักษณะเป็นถุงบรรจุอากาศ ของเหลว ไขมัน น้ำ แต่อาจจะมีเนื้อเยื่อผสมอยู่ด้วย ซึ่งชีสต์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเมื่อเกิดแล้วจะมีอาการเจ็บปวดไม่อันตรายถ้าหากไม่มีเนื้อเยื่อผสมอยู่ แต่หากเนื้อเยื่อผสมอยู่ในถุงชีสต์อาการอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้
- เนื้องอก คือเนื้อเยื่อที่มีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตผิดปกติจนเกิดก้อนเนื้อที่งอกเพิ่มขึ้นมาในบริเวณร่างกายโดยเนื้องอกมีหลายประเภท มีทั้งแบบที่อันตราย และไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งเนื้องอกที่เป็นอันตรายคือก้อนเนื้อร้ายที่มีโอกาสจะพัฒนาเป็นมะเร็งละลุกลามไปส่วนอื่นของร่างกาย
เปรียบเทียบความอันตรายของ “ ซีสต์ ” กับ “ เนื้องอก ”
- เนื้องอก เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งถ้าเนื้องอกมีขนาดเล็กและไม่ได้อยู่บริเวณจุดสำคัญก็ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด แต่ข้อควรระวังคือเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- ชีสต์ เป็นโรคที่ไม่อันตรายมากสามารถทำการักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดน้ำถุงชีสต์ออก ซึ่งชีสต์ขนาดเล็กจะไม่ส่งผลร่างกาย ไม่ทำให้ร่างกายเจ็บปวด แต่หากมีขนาดใหญ่มากขึ้นอาจทำให้ถุงชีสต์เกิดการบิด จนเลือดไม่ไหลเวียน หรือไปเบียดเบียนอวัยวะส่วนอื่น ๆ ถุงชีสต์อาจแตก เน่า และนำมาสู่อันตรายในที่สุด
หากท่านมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ, ปวดท้องแบบหน่วง ๆ ทั้งที่ไม่มีประจำเดือน, มีเลือดออกมากระหว่างรอบเดือน มีลิ่มเลือดปนเป็นก้อน แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติ แต่หากท่านต้องการตรวจหาเนื้องอกหรือก้อนซีสต์เพิ่มเติม ขอแนะนำตรวจ MRI Lower Abdomen (ตรวจช่องท้องส่วนล่าง)