หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “ตรวจ MRI” (Magnetic Resonance Imaging) หรือที่เรียกว่าตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรค แต่หลายคนอาจยังมีความเข้าใจผิดว่าการตรวจ MRI นั้นอันตราย ตรวจ MRI ตัวเองต้องเป็นโรคร้ายแรงแน่เลยถึงได้ตรวจซึ่งความจริงแล้ว ไม่ใช่การตรวจ MRI ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่ท่านคิด บางท่านสามารถเข้ามา CHECK UP ร่างกายตรวจการทำ MRI หากรู้สึกว่ามีอาการความผิดปกติภายในร่างกายของท่านก็สามารถตรวจเช็คแล้วนำไปรักษาต่อได้อย่างแม่นยำตรงจุด ” ตรวจก่อน รู้ทัน รักษาได้ ได้ไม่ลุกลาม “
เครื่อง MRI ทำงานอย่างไร ?
เครื่อง MRI ทำงานโดยอาศัยการทำปฏิกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และอนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งจะทำให้ได้สัญญาณภาพ และจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งการตรวจ MRI ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่สงสัย และความร่วมมือของผู้ที่รับการตรวจ เช่น การตรวจเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อสมองโดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 20-25 นาที แต่ถ้าต้องการตรวจดูหลอดเลือดด้วย เวลาที่ใช้ในการตรวจก็จะเพิ่มขึ้น อีก 15 นาที กรณีที่ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของส่วนช่องท้องจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
MRI ใช้ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง ?
การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดระหว่างตรวจอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด และยังสามารถตรวจหาความผิดปกติได้แทบทุกส่วนภายในอวัยวะ
- ความผิดปกติของเนื้องอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลัง
- ความผิดปกติของระบบกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ
- ความผิดปกติบางอย่างของระบบหัวใจ
- ความผิดปกติของการอุดตันหรือโป่งพองความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบเส้นเลือด
- หารอยโรคของตับ เช่น โรคตับแข็ง และโรคของอวัยวะอื่น ๆ รวมทั้งท่อนํ้าดี ถุงน้ำดี และถุงน้ำในตับอ่อน
- ความผิดปกติของเนื้องอกในไต และท่อปัสสาวะ
- หาสาเหตุของอาการปวดในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง เช่น เนื้องอก
- ตรวจหาเนื้องอกของเต้านม
การตรวจด้วย MRI ดีอย่างไร ?
- MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ชัดเจนทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น สามารถทำการตรวจได้ในทุกระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT scan )
- ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย (CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า )
- ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูก
- สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสีซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูง
- สะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวทั้งก่อน และหลังการตรวจสามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
- ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี