มะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตผู้หญิงไทยถึง 7 คนต่อวัน (สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ.2563) และจากสถิติพบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยปีละ 6,000 ราย มะเร็งปากมดลูกเริ่มแรกจะไม่ปรากฏอาการ เมื่อมีอาการมักอยู่ในระยะรุนแรงอาการที่พบมาก ได้แก่
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- ตกขาวมีความผิดปกติ
- ประจำเดือนมาน้อย หรือมามากผิดปกติ
- เลือดออกในวัยหลังหมดประจำเดือน
- อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีการบวม
- ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด
ปวดท้องน้อยมะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งจำกัดอยู่เฉพาะในบริเวณปากมดลูก
- ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งลุกลามไปบริเวณโดยรอบ เช่น ช่องคลอดส่วนบน เนื้อเยื่อที่อยู่ติดกับปากมดลูก
- ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่ไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น ช่องคลอด ต่อมน้ำเหลือง เนื้อเยื่อภายในอุ้งเชิงกราน
- ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือออกนอกอุ้งเชิงกราน รวมทั้งปอด ตับ กระดูก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) การใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน
- ตินเพร็พ (Pap Test) พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะจากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พก่อนนำส่งเพื่อตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเสมือนจริงของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง การตรวจด้วย MRI สามารถสร้างภาพภายในร่างกายได้ ” โดยไม่ต้องสอดใส่อุปกรณ์ใดเข้าไปในอวัยวะเพศ “ สามารถบอกลักษณะของเนื้อเยื้อภายใน เช่น มดลูก รังไข่ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเพาะปัสสาวะได้อย่างชัดเจน และไม่มีอันตรายจากรังสีเอกซ์