เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าอวัยวะสำคัญที่คอยทำหน้าที่ป้องกันการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า จากการหมุน บิด ตลอดจนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เมื่อเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดจะทำให้คนไข้สูญเสียการเคลื่อนไหวบางส่วน แม้จะยังเดินและวิ่งได้คล้ายปกติ แต่มักจะมีอาการต่างๆ ตามมา ซึ่งสามารถสังเกตได้ชัดเจน ดังนี้
- มีเสียงดังในข้อเข่า
- เจ็บเข่าจนแทบเดินไม่ไหว จนอาจต้องเดินเขย่ง
- เข่าบวม 1-2 สัปดาห์ (มีเลือดออกในข้อเข่า) ซึ่งร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมด้วยตัวเองได้
- เข่าบวมน้อยลงจนเป็นปกติ สามารถเดินได้ วิ่งได้ งอเข่าได้ แต่จะวิ่งซิกแซ็กไม่ได้
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำได้ง่ายและบ่อยขึ้น
ในระยะแรกเมื่ออาการเหล่านี้หายไป หรือเจ็บไม่มากแบบพอทนได้คนไข้มักเข้าใจผิดคิดว่าจะหายเองได้ จึงไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจเสี่ยงเป็นข้อเข่าหลวม ข้อเข่าไม่มั่นคง จนทำให้อวัยวะอื่นในเข่าฉีกขาดเพิ่มขึ้นในที่สุด ฉะนั้นเมื่อพบอาการดังกล่าวคนไข้ควรเข้ารับการตรวจอย่างทันถ่วงที เพื่อรักษาหรือป้องกันการบาดเจ็บไม่ให้ลุกลามได้
การตรวจวินิจฉัยโรคเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด
หลังจากที่เราพูดถึงลักษณะการบาดเจ็บ และอาการของโรคกันไปแล้วสิ่งสาคัญต่อมาที่จะช่วยในการวินิจฉัยก็คือ การตรวจ MRI นอกจากเราจะยืนยันการวินิจฉัย การบาดเจ็บเส้นเอ็นไขว้หน้าแล้ว เรายังสามารถมองเห็นการบาดเจ็บร่วมอื่น ๆ ที่สำคัญได้ด้วย
เราจะเห็นอะไรบ้างจาก MRI ในผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดในภาพ MRI เราจะสามารถดูลักษณะเส้นเอ็นไขว้หน้าที่ฉีกขาด รวมถึงการบาดเจ็บของอวัยวะอื่น ๆ ในหัวเข่าได้ละเอียดมากขึ้นโดยลักษณะภาพ MRI ในผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดเรามักจะพบความผิดปกติดังนี้
- มีการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าหรือ ACL
- มีร่องรอยกระดูกช้าที่บริเวณกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง
- เส้นเอ็นไขว้หลังหย่อน
- มีการฉีกขาดของหมอนรองเข่าทั้งทางด้านในและด้านนอก
- พบการบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หลัง เส้นเอ็นประกบทั้งทางด้านนอกและด้านใน
- มีการบาดเจ็บของกระดูกอ่อน
จะเห็นว่าการตรวจด้วย MRI จะสามารถดูลักษณะเส้นเอ็นไขว้หน้าที่ฉีกขาด รวมถึงการบาดเจ็บของอวัยวะอื่น ๆ ในหัวเข่าได้ละเอียดมากขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในการวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ