ปวดศีรษะแบบไหน ? เข้าข่ายโรคสมองรุนแรง

อาการปวดหัวเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราได้บ่อยที่สุด และในขณะเดียวกันก็สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่เป็นได้มากด้วยเช่นกัน อาการปวดศีรษะเกิดได้จากหลายสาเหตุเราจึงควรรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการปวดศีรษะที่รุนแรง

 

สัญญาณอันตรายของภาวะปวดศีรษะ  ถึงแม้อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยที่มีภาวะปวดศีรษะที่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์โดยเร่งด่วนเพราะอาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น อาจเกิดจากภาวะเลือดออกในสมอง หรือมีอาการติดเชื้อในระบบประสาท เป็นต้น สัญญาณอันตรายของภาวะปวดศีรษะ มีดังต่อไปนี้

  • อาการปวดศีรษะขึ้นรุนแรงทันทีทันใด
  • อาการปวดศีรษะร่วมกับมีไข้และคอแข็ง
  • อาการปวดศีรษะร่วมกับอาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง สับสน บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลง
  • อาการปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
  • ภาวะปวดศีรษะที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษา

 

ปวดศีรษะรุนแรง เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง ?

  • มะเร็งในสมอง อาการเริ่มต้นโดยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายอาการจะดีขึ้น เวลาไอ จาม การเบ่งขับถ่าย จะกระตุ้นให้ปวดเพิ่มขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน ในบางครั้งมองไกลอาจเห็นภาพซ้อน
  • เนื้องอกในสมอง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และถ้าเนื้องอกกดทับในตำแหน่งใด จะมีอาการตามตำแหน่งนั้น เช่น กดทับในตำแหน่งควบคุมแขน ขา จะทำให้เกิดแขน ขา อ่อนแรงได้
  • เลือดออกในสมอง จะมีอาการแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรงมาก เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะยังไม่ดีขึ้นถึงแม้รับประทานยาแก้ปวดศีรษะ
  • ความดันสมองเพิ่มผิดปกติ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น วัณโรค รับประทานยาวิตามินบำรุงผิวบางชนิด ยาคุมกาเนิด ผู้ป่วยจะมีการปวดศีรษะเรื้อรัง ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
  • หลอดเลือดดำอุดตันในสมอง เกิดได้จากการรับประทานยาคุมกาเนิด คนอ้วน ลักษณะของอาการ คือ ปวดศีรษะมากทันทีทันใด และอาจมีการชักร่วมด้วย

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดบริเวณคอ เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอ
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI และ MRA เพื่อดูสภาพเนื้อเยื่อสมองและหลอดเลือดแดงในสมอง ซึ่งจะสามารถพยากรณ์โอกาสเกิดความเสียหายของสมองในอนาคต ได้ละเอียดแม่นยำ ใช้สำหรับการติดตามรักษาโรคได้เป็นอย่างดี