โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่เราสาารถควบคุมได้ภัยมืดที่คุณไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดสมองปัจจัยเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต

เป็นอีกหนึ่งโรคที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “เพชฌฆาตเงียบ” เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันที โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวมาก่อนว่ากำลังเป็นโรคดังกล่าวหลาย ๆ คนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมบางคนถึงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ทั้ง ๆ ที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคประจำตัว เหล้าไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ แถมออกกำลังกายเป็นประจำโดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองนี้ สมองอาจขาดเลือดทันทีภายในระยะเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง แต่ไม่ใช่แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยมีอาการที่เห็นได้ชัด คือ อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เดินเซ พูดไม่ชัด หรือมองเห็นภาพซ้อนร่วมด้วย อาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับบริเวณของสมองที่ขาดเลือดความผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำให้สมองขาดเลือด มีสาเหตุสาคัญอยู่ 2 ประการ คือ หลอดเลือดสมองอุดตัน และหลอดเลือดสมองแตก

 

1.หลอดเลือดสมองอุดตัน (Ischemic stroke)
เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองพบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากหลอดเลือดสมองตีบ หรืออาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

2.หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลัน และทำให้เกิดเลือดออกในสมองส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

 

” ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ที่มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต “

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วยโดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนา และแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อย ๆ
  • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือด เร็วกว่าปกติส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือด และมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • พันธุกรรม โรคหลอดเลือดสมองเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมจากผลการวิจัยพบว่าคนที่มีพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่มีญาติเป็นโรคนี้ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาก หรือดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง

 

ปัจจัยเสี่ยงที่พอจะควบคุมได้บางส่วน คือ โรคบางอย่างได้แก่

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นรัว (AF, Atrial Fibrillation) โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
  • คนที่เคยมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตชั่วคราวมาแล้ว
  • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทาให้หลอดเลือดแข็งตัวพบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
  • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
  • การขาดการออกกาลังกาย
  • อาชีพคนที่ว่างงานหรือทำงานบ้านจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนที่ทำงานนอกบ้าน
  • ถิ่นที่พักอาศัยแน่นอนอยู่แล้วว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ย่อมมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าคนภาคอื่น ๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความกดดันมากกว่า
  • ยาเสพติด
  • การหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอน

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ

  • การตรวจเลือด เพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้าตาล และระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือด หรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดบริเวณคอ เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI และ MRA เพื่อดูสภาพเนื้อเยื่อสมองและหลอดเลือดแดงในสมอง ซึ่งจะสามารถพยากรณ์โอกาสเกิดความเสียหายของสมองในอนาคตได้ละเอียดแม่นยำ หรือใช้สำหรับการติดตามรักษาโรคได้เป็นอย่างดี