โรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมอย่างช้า ๆ ของสมองซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดโบราณรู้จักโรคพาร์กินสันมานานแล้วในนามของ ‘โรคสันนิบาตลูกนก’ แต่ก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันคนไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้นผู้ป่วยจึงได้มาพบแพทย์เร็วขึ้นทาให้ได้รับการดูแลแต่เนิ่น ๆ
อาการที่น่าสงสัยของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงอย่างช้า ๆ การวินิจฉัยโรคแต่เนิ่น ๆ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นระยะเวลายาวนานขึ้นลองสังเกตตัวเองและคนในครอบครัวว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?
- สั่น
- การเคลื่อนไหวช้า
- กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง
- สีหน้าไร้อารมณ์
- หลังค่อม ตัวงุ้มลง
- ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง
- ท้องผูก
- ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับเขียนตัวหนังสือเล็กลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันแต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทานหากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทาให้เกิดโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันมีกี่ระยะ
ระยะที่ 1 จะมีอาการเริ่มต้น คือ เกิดอาการสั่นเมื่อมีการหยุดพัก หรือไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น นิ้วมือ แขน ซึ่งจะเป็นเพียงอวัยวะซีกเดียว นอกจากนี้จะมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัวร่วมด้วยโดยข้างที่เป็นจะมีอาการงอเล็กน้อย
ระยะที่ 2 อาการจะเริ่มลุกลามไปที่อวัยวะอีกข้างหนึ่งผู้ป่วยจะเริ่มหลังงอ เดินตัวโก่งไปข้างหน้า เคลื่อนไหวช้าลงเวลาเดินจะก้าวเท้าสั้น ๆ และต่อมาจะก้าวยาวมากขึ้น แต่จะไม่สามารถหยุดได้ทันทีนอกจากนี้ยังมีอาการเริ่มแยกตัวออกจากสังคม
ระยะที่ 3 มีอาการทรงตัวผิดปกติ อาจหกล้มได้ง่าย เวลาลุกยืนจะลำบาก
ระยะที่ 4 ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง อาการสั่นจะลดลง แต่จะมีอาการแข็งเกร็ง และเคลื่อนไหวช้ามากขึ้นกว่าเดิมต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยจะหกล้มได้ง่าย และไม่สามารถยืนได้
ระยะที่ 5 กล้ามเนื้อแข็งเกร็งมากขึ้นจนผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้เลย กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ศีรษะก้มมาจรดคอ มือเท้าหงิกงอ เสียงพูดแผ่วเบา ไม่มีการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ผู้ป่วยจะไม่สามารถทานอาหารได้ทำให้ร่างกายซูบผอมลงทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ
การวินิจฉัยพาร์กินสัน
- แพทย์จะประเมินจากอาการที่ปรากฏประวัติทางการแพทย์สอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ชีวิตที่เกิดจากอาการเหล่านั้น และอาจทาการทดสอบสมรรถภาพร่างกายโดยให้ผู้ป่วยลองเดินไปรอบ ๆ หรือเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยการป่วยพาร์กินสันต้องมีอาการที่เด่นชัดอย่างน้อย 2 ใน 3 กลุ่มอาการหลัก คือ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- การตรวจเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) ซึ่งจะช่วยแยกโรคที่มีอาการคล้ายพาร์กินสันที่มีความผิดปกติของสมองส่วนต่าง ๆ ออกไปได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือ ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง เป็นต้น