ไขมันพอกตับ คืออะไร?
หากอธิบายง่ายๆ คือการที่พบไขมันเกาะอยู่ที่ตับด้านนอก โดยไขมันที่ว่าจะมาจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินกว่าปกติในร่างกาย ที่ตับสร้างออกมา เป็นภาวะที่ตับทำงานผิดปกติที่ทำให้มีไขมันเกาะตัวอยู่ที่เนื้อตับ
พฤติกรรมเสี่ยงภาวะไขมันพอกตับ
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วน
- ผู้ที่ทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูงเป็นประจำ เช่น เบเกอรี่ น้ำอัดลม อาหารทอด เป็นต้น
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้อยู่แล้ว ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- อยู่ในวัยกลางคน อายุ 45-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการเผาผลาญพลังงานน้อยลง
- ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ จึงทำให้มีการเผลาผลาญพลังงานน้อยลง
- ทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ และยาในกลุ่มที่เป็นฮอร์โมนทดแทน
- ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
- อาการของภาวะไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบ ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตับมีความผิดปกติ เพราะในระยะแรกไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาให้เห็น จนกว่าจะเข้าไปถึงระยะที่ตับเริ่มอักเสบ อาจจะเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีอาการปวดท้องที่บริเวณตับเล็กน้อย (ใต้ชายโครงขวา) หากตับอักเสบมากขึ้นอาจมีอาการของโรคดีซ่าน คือ ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด เป็นต้น
โดยภาวะไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด ๆ ไม่มีการอักเสบ หรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบ
ดำเนินไปเรื่อย ๆ เกินกว่า 6 เดือนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ
สัญญาณที่อาจบ่งชี้ว่าคุณเริ่มมีปัญหาตับ
- มีน้ำหนักมาก อ้วนลงพุง หรือมีไขมันสะสมที่หน้าท้อง
- พยายามลดน้ำหนักอย่างไรก็ไม่ลง
- ระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- เป็นโรคเบาหวาน
- รู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่าย
- รู้สึกเจ็บตึง ๆ ที่ชายโครงขวา
- เริ่มมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ลง รวมถึงรู้สึกคลื่นไส้
การตรวจวินิจฉัยโรค
- การประวัติอาการและการตรวจร่างกาย เป็นสิ่งชี้นำในการตรวจขั้นตอนต่อไป แต่ในรายที่เป็นมะเร็งตับอ่อน ระยะเริ่มแรกมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ
- การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือเนื้อเยื่อเพื่อตรวจวัดปริมาณสารบางอย่าง เช่น สาร CA 19-9 หรือ (CEA) ซึ่งอาจมีระดับเพิ่มสูงขึ้น
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่จะแสดงให้เห็นตำแหน่งและขนาดของจุดเกิดโรค นอกจากนี้ยังช่วยวินิจฉัยได้ว่าโรคมีการลุกลามไปยังตับและต่อมน้ำเหลืองหรือไม่
- การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการถ่ายภาพคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่อาศัยรังสีเอกซ์ แต่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพของอวัยวะภายในและสามารถตรวจพบมะเร็งตับอ่อนได้ ละเอียดแม่นยำ ใช้สำหรับการติดตามรักษาโรคได้เป็นอย่างดี