การบาดเจ็บของข้อเท้าส่วนใหญ่วินิจฉัยว่าเป็นข้อเท้าแพลง หรือเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบ ส่วนการบาดเจ็บที่กระดูก เช่น กระดูก talus แตกร้าว หรือกระดูกหัก พบไม่บ่อยนัก ซึ่งเป็นการบาดเจ็บจากเท้าบิดออกด้านนอก อาจเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรง จากกีฬาที่ต้องใช้แรงปะทะหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น
อาการแสดงของข้อเท้าแพลงเรื้อรัง หรือข้อเท้าเจ็บเรื้อรัง
- บวมๆ ยุบๆ บริเวณข้อเท้า
- เจ็บบริเวณข้อเท้าเวลายืนนานๆ หรือเดินไกลๆ หรือเมื่อขึ้นลงบันไดบ่อย
- ไม่สามารถนั่งยองๆ หรือนั่งสมาธิ หรือนั่งพับเพียบได้
- กดเจ็บบริเวณข้อเท้าด้านหน้า หรือบริเวณตาตุ่มด้านนอก
- จับข้อเท้าบิดเข้าในเต็มที่ มักจะเจ็บข้อเท้าด้านนอก หรือเมื่อกระดกเท้าขึ้นเต็มที่แล้วบิดเท้าออก จะเจ็บบริเวณข้อเท้าด้านหน้า หรือรู้สึกข้อหลวมเมื่อเปรียบเทียบกับข้อเท้าอีกข้าง
การบาดเจ็บข้อเท้าเรื้อรังนอกจากเกิดจากข้ออักเสบเรื้อรังอาจต้องตรวจโรคข้ออักเสบอื่นๆ ที่เป็นแฝงร่วมอยู่เดิมด้วย เช่น รูมาตอยด์ เอสแอลอี โรคเก๊าท์ ฯลฯ ร่วมอยู่ด้วย ที่อาจเกิดร่วมกับข้อเท้าแพลง
ต้นเหตุของการเกิดอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังหรือข้อเท้าอักเสบ คือ
- ข้อเท้าขัด
- ข้อต่อเอ็นยึด
- ข้อเท้าขัดเพราะมีกระดูกไปขวาง
- การฉีกขาดที่เป็นเรื้อรังของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ
ข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในการบาดเจ็บจากกีฬา การวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องและมากพอ ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมตั้งแต่แรกๆ ก็จะทำให้นักกีฬาที่บาดเจ็บนั้นสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติ การรักษาไม่ถูกต้อง ไม่ต่อเนื่อง หรือวินิจฉัยไม่ครอบคลุมอาจจะเป็นสาเหตุเบื้องต้นของข้อเท้าแพลงเรื้อรังและเป็นผลให้นักกีฬาทรมาน ขาดความเชื่อมั่น และเลิกเล่นกีฬาก่อนเวลาอันควรสำหรับรายที่ข้อเท้าแพลงและได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและมีคุณภาพแล้วเกิน 6 สัปดาห์ แต่ยังมีอาการอยู่ให้สงสัยว่าเอ็นยึดข้อฉีกขาดรุนแรง อาจตรวจด้วย MRI เพื่อดูการฉีกขาด ของเอ็นหรือการบาดเจ็บร่วมอื่นๆ เพื่อรับการรักษาได้อย่างถูกต้องตรงจุดมากขึ้น