อาการนอนไม่หลับ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

อาการนอนไม่หลับเกิดจากอะไร?

อาการนอนไม่หลับ หรือ โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะหลับไม่พอ หลับยาก ในช่วงเวลาพักผ่อน ใช้เวลามากกว่า 30 นาทียังไม่หลับ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

– เกิดจากอาการเจ็บป่วยมีปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

– เกิดจากความเครียดมีความวิตกกังวลใจจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

– อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา

– การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นิโคติน หรือแอลกอฮอล์มากเกิน

– ความอ่อนเพลียจากการเดินทาง

– มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง

– โรคความผิดปกติในการนอนหลับอื่นๆ เช่น นอนกรนในขั้นรุนแรง จนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

– การนอนไม่หลับจากสาเหตุเหล่านี้ เมื่อปัญหาหรือสาเหตุเหล่านี้หมดไป อาการนอนไม่หลับก็มักหายไปเอง ยกเว้นการนอนไม่หลับติดต่อกันนานมากกว่า 1 เดือน ถือเป็นอาการเรื้อรังที่ควรตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา

 

รู้อย่างไรว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ

เชื่อว่าหลายๆ คนมีอาการผิดปกติที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ เช่น รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา ในช่วงที่ไม่ใช่เวลานอน หรือเมื่อถึงเวลานอนกลับหลับยาก ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลียง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เข้าใจผิดและกังวลใจว่าเป็นอาการของโรคร้ายแรงอื่นๆ

โดยปกติร่างกายของคนเราต้องการระยะเวลาในการนอนหรือพักผ่อนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและพันธุกรรม เมื่อคุณภาพของการนอนไม่สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งหากเราเป็นโรคนอนไม่หลับร่างกายก็จะเริ่มส่งสัญญาณบ่งบอก ดูรู้อย่างไรว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ?

– ขอบตาหมองคล้ำ

– รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า โดยไม่ทราบสาเหตุ

– อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย เหวี่ยงวีน โดยไม่มีเหตุผล

– ง่วงนอนตลอดเวลาและงีบหลับระหว่างวันบ่อยๆ

– หน้าตาอิดโรย ไม่สดชื่น ผิวหน้ามองคล้ำ ผิวพรรณไม่สดใส

– สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนงง ขาดสมาธิในการทำงาน และการทำงานไม่มีประสิทธิภาพนี้

 

อันตรายจากการนอนไม่หลับที่มีผลต่อสุขภาพ

โรคนอนไม่หลับ นอกจากทำให้ง่วงนอนตลอดเวลา หรืองีบหลับณะทำงานทาให้การทำงานขาดคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากอาการนอนไม่หลับยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน ดังนี้

– เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

– อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจ

– ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาเทติก และการทำงานที่ลดลงของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

– เป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และมีความวิตกกังวลได้ในทุกๆ เรื่อง

– ส่งผลต่อระบบหลอดเลือดสมอง