เนื้องอกในสมอง โรคที่พบไม่บ่อย แต่เกิดได้ทุกช่วงวัยและพบได้กับทุกคน

ปวดหัวอาจเป็นปัญหาที่ใครหลายคนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งแต่ละคนจะมีสาเหตุของการปวดหัวที่แตกต่างกัน บางคนอาจโดนแดดมาก ๆ แล้วปวดหัว บางคนอาจปวดหัวเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่หากอาการปวดหัวไม่ได้มาจากความเครียด หรือไม่มีสาเหตุของการเกิด โดยจะมีอาการปวดหัวบ่อย และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

เนื้องอกในสมองคืออะไร

เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม

สาเหตุของเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดจากสารพันธุกรรมในเซลล์สมองทำงานผิดปกติ หรือมีการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เกิดการแบ่งตัวผิดปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้จึงก่อตัวเป็นเนื้องอกบริเวณสมอง และส่งผลกระทบต่อสมอง และบริเวณใกล้เคียงเนื้องอกเป็นมะเร็ง อาจเกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะอื่น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งปอด แล้วแพร่ทางกระแสเลือดลามเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดเป็นมะเร็งในที่สุด ซึ่งเนื้อร้ายจะมีอัตราการเจริญเติบโต และสร้างความเสียหายแก่ร่างกายได้นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังมีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นเนื้องอกในสมอง และอาจมีสาเหตุจากรังสีอันตรายที่เกิดจากการทำงาน หรือได้รับจากในชีวิตประจำวัน เช่น รังสีจากการฉายแสงตรวจ หรือรังสีจากระเบิดปรมาณู เป็นต้น

 

ระดับความรุนแรงของโรคเนื้องอกในสมอง

ระดับที่ 1 : เป็นก้อนเนื้อธรรมดา ยังไม่มีการแพร่กระจาย สามารถรักษาให้หายขาดได้

ระดับที่ 2 : เนื้องอกระดับปานกลาง เริ่มแพร่กระจาย แต่ยังไม่ใช่เนื้อร้าย เจริญเติบโตช้า เนื้องอกจึงรักษาได้แต่ไม่หายขาด

ระดับที่ 3 : ก้อนเนื้อพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจเกิดจากการพัฒนาของเนื้องอกที่มาจากก้อนเนื้อธรรมดา หรืออาจลุกลาม มาจากเซลล์มะเร็งในอวัยวะอื่นของร่างกาย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ

ระดับที่ 4 : มะเร็งสมองชนิดร้ายแรง เนื้องอกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้เสียชีวิตในเวลาอันสั้น

 

ปวดหัวอย่างไรเสี่ยงเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้องอกขึ้นในสมอง และมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื้องอกจะไปเบียด หรือทำลายเนื้อสมองที่มีพื้นที่จำกัด ทำให้กะโหลกศีรษะมีความดันสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงตื่นนอน หรือช่วงเวลากลางคืน ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน แม้จะรับประทานยาแก้ปวดจะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ จะมีอาการปวดศีรษะอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีอาการอาเจียน แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว ท่าทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ หรืออาจมีอาการชักร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

วิธีในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของเนื้องอกสมอง สามารถทาได้โดยการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และวางแผนการรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่จะลุกลาม
สำหรับการรักษาเนื้องอกสมอง โดยส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เอาเนื้องอกในสมองออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้องอกสมองบางชนิดเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ได้เป็นเซลล์มะเร็ง หลังจากผ่าตัดแล้วสามารถหายขาดได้ในทันที แต่ในบางกรณีเนื้องอกที่นำออกไป มีลักษณะเป็นเซลล์มะเร็ง จะต้องมีการรักษาต่อเนื่อง โดยแพทย์จะทาการรักษาด้วยวิธีการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดเนื้องอกซ้ำได้อีก