ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนั่งทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ จนอาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย โดยอาการทางกายเหล่านี้ส่งผลเสียต่ออารมณ์และร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ได้
สาเหตุท็อปฮิตของโรคปวดหลังในวัยทำงาน
อาการปวดหลังนั้นมีหลายสาเหตุ บางคนต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งการนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้น มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหลังต้องเกร็งตัวตลอดเวลาจนทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า และเมื่อไม่ได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนท่าทาง ทำให้กล้ามเนื้อต้องทางานต่อเนื่องยาวนาน ความผิดปกติจึงเพิ่มจากความเมื่อยล้าเป็นการปวดหลัง เพราะกล้ามเนื้อเกร็งตัวจนขาดเลือดไปเลี้ยง รวมถึงมีกรดแลคติดสะสมในกล้ามเนื้ออันเกิดจากความเหนื่อยล้า เมื่ออาการนี้สะสมยาวนาน ก็จะกลายเป็นปัญหาต่อการทำงานได้ เพราะกล้ามเนื้อจะเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ
อุปกรณ์ในที่ทำงาน คืออีกปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
นอกจากวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อป้องกันอาการปวดหลังแล้ว ต้องลองพิจารณาอุปกรณ์ต่างๆ ในที่ทำงานด้วย เช่น ขนาดของโต๊ะ และเก้าอี้เหมาะกับสรีระของเราหรือไม่ รวมถึงความสูงของเก้าอี้และโต๊ะ ควรอยู่ในระดับที่แขนวางเป็นมุมฉากกับลำตัวพอดี ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ส่วนแป้นคีย์บอร์ดก็ควรอยู่ในระดับข้อศอกจะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาในขณะพิมพ์ นอกจากนี้ระหว่างทำงานก็ควรที่จะต้องลุกไปเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชม.เป็นอย่างน้อย
ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (เป็นโรคที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อชุดเดิมซ้ำๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการจากกล้ามเนื้อที่ล้า หดเกร็ง จนบางครั้งคลำพบก้อนแข็งในมัดกล้ามเนื้อ หรือมีจุดกดเจ็บ โดยพบได้บ่อยในกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า และสะบักหากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา สามารถนำไปสู่โรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น กระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท โดยอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย ได้แก่
- ปวดตึง ปวดหนักๆ ที่ท้ายทอย ต้นคอ บ่า สะบัก หรือเอว และสะโพก
- อาการปวดร้าวขึ้นท้ายทอย ขมับ กระบอกตา บางครั้งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น โรคไมเกรน หรือปวดร้าวลงต้นขา คล้าย กระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมกดทับเส้นประสาท
- อาการชา เย็นวูบวาบ คลื่นไส้ มึนศีรษะ
ธรรมชาติของคนทำงานประจำในยุคนี้ มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมปรับเปลี่ยนท่าทางและหยุดพัก บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้มีอาการหนักมากขึ้น หรือลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย
แนวทางตรวจวินิจฉัยโรค
ในปัจจุบันการตรวจด้วย MRI ถือว่าเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐาน สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังทุกชนิด ซึ่งมีความละเอียดชัดเจนสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะมีอาการแสดงได้ ทำให้สามารถรักษาและป้องกันความเสียหายของกระดูกสันหลังได้ตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะลุกลามเสียหาย