โรคเส้นเลือดในสมอง รู้เร็ว หายไว ห่างไกลอัมพาต

ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก

  • กลุ่มที่หนึ่ง ประมาณ 80-90% เป็นภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมองซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะหลอดเลือดอุดตัน หรือภาวะหลอดเลือดตีบ
  • กลุ่มที่สอง ประมาณ 15-20% จะเป็นภาวะที่มีเลือดออกในสมองซึ่งโรคที่ทำให้เกิดก็มาจากการฉีกขาดของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่หลาย ๆ คนเรียก หลอดเลือดฝอยฉีกขาด และอีกประมาณ 5% จะเป็นลักษณะของหลอดเลือดโป่งพองแล้วมันแตก อันนี้อัตราเสียชีวิตค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น สรุปก็คือ ภาวะหลอดเลือดผิดปกติจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สมองขาดเลือด กับ กลุ่มที่มีเลือดออกในสมอง

สัญญานเตือนภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง

อาการหลักคือ อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด แต่โอกาสที่มันจะเตือน ระยะเวลามันสั้นมาก บางคนไม่คิดด้วยซ้ำว่า อันนี้คือการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง เพราะจริง ๆ แล้ว อาการปวดศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน มันเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้น มันค่อนข้างยากที่จะบอกว่าเป็นอาการของหลอดเลือดสมอง แต่ก็ต้องบอกว่าอาการปวดศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการนำของการเกิดภาวะของหลอดเลือดผิดปกติในสมอง

 

สาเหตุภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง

โรคหรือภาวะหลอดเลือดในสมองผิดปกติ เราพบได้ตั้งแต่อายุ 20, 30, 40 ไปจนถึงวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ สาเหตุรูปแบบของการผิดปกติ มันมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ

ในกลุ่มคนอายุน้อย ๆ อาจจะเป็นลักษณะของความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของระดับพันธุกรรมที่ให้หลอดเลือดในสมองผิดปกติเกิดเป็นปาน เกิดมีการต่อกันของหลอดเลือดผิดปกติ

ส่วนในวัยกลางคนก็มักจะเกิดจากการใช้ชีวิต สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่สาเหตุหลัก ๆ จะมาจากการสูบบุหรี่ นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องของสารเคมีที่ใช้หรือยาที่ใช้ ยาบางอย่างก็ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น มีการอุดตัน หรือมีการอักเสบของหลอดเลือดได้

ส่วนในผู้สูงอายุก็จะเป็นลักษณะของความเสื่อม คือผนังหลอดเลือดมันเสียความยืดหยุ่นไป หรือมีภาวะของโรค เช่น เบาหวาน ความดัน โรคเลือด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในวัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตาแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดบริเวณคอ เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI และ MRA เพื่อดูสภาพเนื้อเยื่อสมองและหลอดเลือดแดงในสมอง ซึ่งจะสามารถพยากรณ์โอกาสเกิดความเสียหายของสมองในอนาคต ได้ละเอียดแม่นยำ ใช้สำหรับการติดตามรักษาโรคได้เป็นอย่างดี