MRI ตรวจส่วนใดได้บ้าง?

สมอง

การตรวจ MRI ของสมองสามารถใช้ตรวจในผู้ที่ปกติได้

เนื่องจาก MRI มีความปลอดภัยสูง ไม่มี x-rays หรือรังสีที่จะดูดซึมตกค้างในร่างกาย สามารถตรวจได้ทุกวัยแม้เด็กแรกเกิดหรือหญิงมีครรภ์ และไม่มีอันตรายใดๆต่อร่างกาย จึงเหมาะที่จะใช้ตรวจหาโรคในสมองได้โดยที่ยังไม่ต้องรอให้มีอาการ ถือเป็นวิธีการตรวจสุขภาพสมอง (Check up) ได้ดี

อาการหรืออาการแสดงที่ท่านควรมารับการตรวจ MRI BRAIN (ตรวจเนื้อสมอง)

– เมื่อท่านมีอาการหรืออาการแสดงเหล่านี้ควรมารับการตรวจ MRI ของ สมอง
– มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หรือพถติกรรม เปลี่ยนแปลง
– มีอาการชักหรือหมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อม สับสน คลื่นใส้อาเจียน
– มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว เป็นๆหายๆ
– มีอาการ ปากเบี้ยว, หนังตาตก หรือ ลิ้นชาแข็ง

 

 

อาการหรืออาการแสดงที่ท่านควรมารับการตรวจ MRA BRAIN (ตรวจเส้นเลือดของสมอง)
อาการที่ท่านควรมารับการตรวจ MRA ของสมอง
– ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
– พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
– ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
– ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
– เดินเซ ทรงตัวลำบาก

ช่องท้องส่วนบน

   เนื่องจาก MRI มีความปลอดภัยสูง ไม่มี x-rays หรือรังสีที่จะดูดซึมตกค้างในร่างกาย 
สามารถตรวจได้ทุกวัยแม้เด็กแรกเกิดหรือหญิงมีครรภ์ และไม่มีอันตรายใดๆต่อร่างกาย 
จึงเหมาะที่จะใช้ตรวจหาโรคในช่องท้องได้โดยที่ยังไม่ต้องรอให้มีอาการ 
ถือเป็นวิธีการตรวจอวัยวะภายในช่องท้อง (Check up) ได้ดีมากวิธีหนึ่ง

   MRI มีความไวมากในการตรวจภาพของก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งใน ช่องท้อง 
และยังสามารถสร้างภาพก้อนเนื้องอกได้อย่างชัดเจน

  • อาการหรือโรคที่ MRI มีประโยชน์ที่จะช่วยในการวินิจฉัย ก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งใน ช่องท้อง มีดังนี้
  • ตัวเหลืองตาเหลืองคลื่นใส้อาเจียร เจ็บบริเวณชายโครง ท้องโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ตรวจหามะเร็งตับแต่เนิ่นๆในผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี 
    (ผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติ 40-350 เท่า ,
    ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนที่ไม่เป็นพาหะ ถึง 100-400 เท่า)

ช่องท้องส่วนล่าง

   MRI มีความไวมากในการตรวจภาพของก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งในอุ้งเชิงกราน เช่นเดียวกับในช่องท้อง 
และยังสามารถสร้างภาพก้อนเนื้องอกได้อย่างชัดเจน 
จึงเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะการตรวจอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ 
ซึ่งในสุภาพสตรี มีอวัยวะที่สำคัญคือมดลูกและรังไข่ 
ซึ่งในสุภาพบุรุษ มีอวัยวะที่สำคัญคือต่อมลูกหมาก
และยังสามารถถ่ายภาพภายในของลูกอัณฑะและองคชาติได้ด้วย 
สามารถตรวจได้ในสตรีมีครรภ์,ในเด็ก โดยไม่มีอันตรายใดๆต่อร่างกายมารดา,ทารกในครรภ์และเด็ก

  • อาการหรือโรคที่ MRI มีประโยชน์ที่จะช่วยในการวินิจฉัยโรค ในอุ้งเชิงกราน มีดังนี้
  • ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก , ช่องคลอด (เช่น septate, bicornuate uterus )
  • ถ่ายภาพของเนื้องอกหรือมะเร็งของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน(Fibroid,Adenomyosis,Cancer of ovary)
  • ดูการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากเพื่อวางแผนการรักษา
  • ปวดท้องน้อยเป็นประจำ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปัสสวะเป็นเลือด,ปัสสาวะขัด

เต้านม

การตรวจเต้านมด้วย MRI จะเป็นการช่วยเสริมในการให้ข้อมูลโรคของเต้านมเพิ่มเติมคือ

  1.  ดูความผิดปกติเพิ่มเติมจากที่ตรวจพบโดยแมมโมแกรม
  2. ตรวจเสริมในรายที่เต้านมมีความหนาแน่นมากและมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูง ผลการตรวจด้วยแมมโมแกรมและอุลตร้าซาวนด์แล้วไม่ชัดเจน
  3. ตรวจดูความสมบูรณ์ของเต้านมที่เสริมไว้(เช่นเต้านมที่เสริมไว้รั่วหรือแตก)
  4. แยกระหว่างเนื้อเยื่อแผลเป็นและเนื้อมะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัดไปแล้ว
  5. ตรวจหาตำแหน่งก้อนเนื้อที่มีหลายๆก้อนในเต้านม
  6. ตรวจเสริมดูว่ามีก้อนที่ตำแหน่งอื่นอีกหรือไม่ก่อนจะให้การรักษา
  7. ตรวจเสริมดูว่ามะเร็งเต้านมนั้นแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นหรือผนังทรวงอกหรือไม่เพื่อบอกระยะของโรคและวางแผนการรักษา
  8. ใช้ติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัดและหลังฉายรังสีรักษา
  9. ใช้ดูผลการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  10. แสดงความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมได้
  11. มองเห็นซีสท์ในเต้านมได้
  12. มองเห็นท่อน้ำนมขยายใหญ่ขึ้นได้
  13. มองเห็นก้อนเลือดในเต้านมได้
  14. สามารถเห็นต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยได้

กระดูกและข้อ

 การตรวจด้วยเครื่อง MRI ของหัวเข่านั้นมีข้อดีเหนือกว่าการ X-RAYS มาก เพราะนอกจากจะสามารถบอกลักษณะของกระดูกหัวเข่าแล้ว เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาด ของเส้นเอ็น หรือกระดูกอ่อนภายในข้อ จะบอกได้ 
ยังสามารถบอกถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูกอ่อนที่รองรับกระดูกหัวเข่าชิ้นบนและล่าง 
รวมทั้งลักษณะและปริมาณของน้ำในข้อเข่าได้อีกด้วย จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนการรักษาต่อไป 
ซึ่งนอกเหนือจากการตรวจด้วย MRI แล้วจะไม่วิธีตรวจใดๆ ที่จะให้ข้อมูลได้มากเที่ยบเท่าได้เลยนอกจากข้อเข่าแล้ว ยังสามารถตรวจข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อตะโพก ข้อเท้า ได้ด้วย

       การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวของกระดูกต้นขา MRI เป็นการตรวจที่ไวที่สุด สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ แม้ภาพเอกซเรย์ธรรมดายังปกติอยู่

 

 

กระดูกสันหลัง

MRI มีความไวสูงในการถ่ายภาพตรวจกระดูกสันหลัง ได้ดีกว่า X-RAY Computer สามารถแสดงภาพกายวิภาคของตัวกระดูกสันหลัง,หมอนรองกระดูกสันหลัง,ไขสันหลัง,ช่องระหว่างตัวกระดูกสันหลังซึ่งมีเส้นประสาทลอดผ่านออกมา สามารถแสดงภาพออกมาได้อย่างชัดเจนและแม่นยำทำให้ MRI มีประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมาก MRI ช่วยดูรอยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เพื่อที่แพทย์จะได้ใช้ในการพิจารณาหาแนวทางรักษา โดยเฉพาะอาการปวดหลังซึ่งพบบ่อย หรือรู้ข้อมูลเพื่อที่จะได้วางแผนก่อนที่จะผ่าตัด หลังผ่าตัดยังสามารถใช้ติดตามดูการเปลี่ยนแปลง เช่นแผลเป็นหรือการติดเชื้อ เป็นตัวนำในการใช้ฉีดยา steroid เพื่อลดอาการปวด (spinal pain) อาการหรือโรคที่ MRI มีประโยชน์ที่จะช่วยในการวินิจฉัยหรือดูลักษณะของรอยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง มีดังนี้
  • เนื้องอก,มะเร็งของไขสันหลัง,หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลัง
  • หมอนรองกระดูกยื่นออกมาทับเส้นประสาท เนื่องจากการเสื่อม หรือ อุบัติเหตุ
  • การแคบของช่องไขสันหลังจากกระดูกเสื่อม
  • ปวดคอ ชาลงแขนหรือลำตัว
  • แขนหรือนิ้วมือชา
  • แขนหรือขาอ่อนแรง หรืออ่อนแรงทั้งหมด
  • แขนขากระตุก
  • ขาไม่มีแรงทั้งสองข้าง
  • ปวดหลังไม่หาย
  • มีอาการชาตึงลงขาหรือน่อง
  • นิ้วขาชาไม่มีความรู้สึก
  • ขาลีบ อ่อนแรง
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • ควบคุมปัสสวะ,อุจจาระไม่ได้
ฉีดสีเข้าสันหลัง กับ mri อันไหนดีกว่ากัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า การทำ MRI เพื่อวินิจฉัยดูโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง มีประโยชน์มากกว่าการฉีดสีเข้าไขสันหลัง(Lumbar myelograghy) อย่างแน่นอน และถึอว่าการทำ MRI เป็น Gold Standard ในการวินิจฉัยโรคทางกระดูกสันหลังไปแล้ว
  • ประโยชน์ของการทำ MRI ที่เหนือกว่าการฉีดสี มีมากมายดังต่อไปนี้
  • ไม่เจ็บ(จากการใช้เข็มแทงเข้าไขสันหลัง)
  • ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ให้รายละเอียดภายในกระดูกสันหลังได้ดีกว่า อาทิเช่น หมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งการฉ๊ดสีมองไม่เห็น
  • ไม่เสี่ยงต่อการแพ้สี(contrast media)
  • มีอุบัติการณ์ของการเกิดการวินิจฉัยผิดพลาด น้อยกว่าการฉีดสี
  • ไม่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา น้ำไขสันหลังรั่ว หลังการแทงเข็ม
  • ข่วยวินิจฉัยโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น มะเร็งที่แพร่กระจายมา ฝีที่กล้ามเนื้อข้างๆกระดูกสันหลัง

ทั้งร่างกาย

ปัจจุบันจะเห็นว่าตามโรงพยาบาลต่างๆจะมีโครงการตรวจสุขภาพ
เพื่อค้นหาโรคก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ
ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ผลการรักษาดี
โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนน้อย ชีวิตก็จะยืนยาวมีความสุขขึ้น

สำหรับโครงการตรวจสุขภาพทั้งร่างกายด้วย MRI
เป็นการตรวจดูว่ามีก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งในร่างกายที่ใดหรือไม่
โดยเฉพาะอวัยวะภายในซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้
ซึ่งถ้าสามารถตรวจพบก้อน หรือมะเร็งในระยะต้นๆได้ก่อนที่จะมีอาการผิดปกติ
ก็จะทำให้แพทย์ให้การรักษาได้รวดเร็ว
ก่อนที่ก้อนหรือมะเร็งนั้นจะขยายใหญ่หรือลุกลาม หรือแพร่กระจายไป
ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและยากแก่การรักษา และผลการรักษาก็ไม่ดี

ทำให้การตรวจ MRI ทั้งร่างกายได้ภาพที่ชัดเจน ถูกต้อง เสียงดังน้อยกว่า และใช้เวลาน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับราคาเครื่องและผลที่ได้รับแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามาก

แนวโน้มในการตรวจ MRI ทั้งร่างกาย คาดว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง จะช่วยบอกว่ามีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
เนื่องจากมีความแน่นอน ไม่มีรังสี
และประสิทธิภาพของเครื่อง MRI ดีขึ้นเรื่อยๆ(เร็วขึ้น ชัดขึ้น ดังน้อยลง)

ศีรษะ ตา หู จมูก และคอ

MRI มีประโยชน์ที่จะช่วยในการวินิจฉัยโรคในบริเวณ ศีรษะ ตา หู จมูกและคอ ได้

  • ช่วยตรวจหาก้อนในบริเวณ ศีรษะ ตา หู จมูกและคอ ได้
  • บอก ขนาด และขอบเขตก้อน ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา
  • บอกระยะของมะเร็ง ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา และการพยากรณ์โรค เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งต่อมน้ำลาย
  • ตรวจดูว่ามีก้อนที่ตำแหน่งอื่นอีกหรือไม่ก่อนจะให้การรักษา
  • ตรวจดูว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น(เช่น สมอง ต่อมน้ำเหลือง)หรือไม่เพื่อบอกระยะของโรคและวางแผนการรักษา
  • ใช้ติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัดและหลังฉายรังสีรักษา
  • ดูการไหลเวียนของเลือดในบริเวณ ศีรษะและคอ
  • ดูความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองในบริเวณ ศีรษะและคอร่วมด้วยได้
  • ถ่ายภาพเนื้อเยื่อประสาทได้ชัดเจนในหลายระนาบโดยไม่ถูกรบกวนจากกระดูกบริเวณกระโหลกศีรษะ
  • สามารถเห็น soft tissue บริเวณข้างเคียงร่วมด้วยได้
  • ตรวจดูความผิดปกติแต่กำเนิดในบริเวณ ศีรษะและคอ
  • ตรวจดูโรคของกระบอกตา
  • ตรวจดูโรคของหูชั้นใน

ระบบทางเดินน้ำดี

   MRCP(Magnetic resonance cholangiopancreatography) 
สามารถทดแทนการตรวจโดยการส่องกล้องทางปาก(ERCP) 
หรือการแทงเข็มผ่านหน้าท้องเข้าไปเพื่อฉีดสีและ X-RAYS 
( ERCP ย่อมาจาก endoscopic retrograde cholangiopancreatography ) 
ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากและยังให้ข้อมูลได้จำกัดเฉพาะจุดที่มีการอุดตันเท่านั้น 
แต่ด้วยวิธีตรวจแบบใหม่นี้ จะสามารถให้ข้อมูลของอวัยวะโดยรอบ 
รวมทั้งบริเวณที่เหนือจุดที่มีการอุดตันขึ้นไปได้อย่างชัดเจน 
การตรวจด้วยวิธีการนี้ให้ความแม่นยำในการบอกตำแหน่งที่มีการอุดตันทางเดินน้ำดี 
สูงถึง 99% และสามารถพบตำแหน่งของนิ่วในทางเดินน้ำดีได้แม่นยำถึง 97% 
และให้ความปลอดภัยกับผู้ป่วยและที่สำคัญคือไม่ต้องเสี่ยงใดๆเลย 
การตรวจนี้อาศัยหลักการของน้ำดีจะให้สัญญาณเป็นสีขาวในภาพ 
น้ำดีจะให้ภาพที่มีสีขาว โดยที่เนื้อเยื่ออื่นๆ รวมทั้งตับและไขมันจะให้สัญญาณที่มีสีดำ 
ทำให้สามารถศึกษารายละเอียดของทางเดินน้ำดีได้เป็นอย่างดี

   โรคที่เหมาะสำหรับการตรวจด้วยวิธีนี้ เช่น

  • โรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี
  • เนื้องอกหรือมะเร็งทั้งในท่อน้ำดีและบริเวณโดยรอบซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน
  • สามารถตรวจหาความผิดปกติของท่อตับอ่อน(pancreatic ducts)ได้
  • ตรวจหานิ่วในท่อตับอ่อน (detection of intraluminal pancreatic duct calculi)
  • โรคพยาธิใบไม้ในตับ
  • โรคดีซ่าน(ตาเหลืองตัวเหลือง) เป็นต้น

BONE SCAN

บริการตรวจกระดูกทั้งร่างกายด้วย MRI (MRI BONE SCAN)

การตรวจ MRI total body Bone Scan จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการให้ข้อมูลโรคของกระดูก
โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นมะเร็งแล้ว และต้องการตรวจดูว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังกระดูกหรือไม่
เพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์โรคและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เดิมทีเราใช้ bone scan scintigraphy ในการตรวจหาว่ามีการกระจายของมะเร็งไปที่กระดูกหรือไม่ 
bone scan scintigraphy นี้ใช้ Tc99 เป็นสารรังสีซึ่งจะเข้าไปเกาะติดอยู่ก้บ เซลล์กระดูกใหม่
ทีนี้โดยธรรมชาติหากมีการเสียหายของกระดูก ร่างกายก็จะสร้างเฃลล์กระดูกใหม่ทดแทน ตรงนี้เอง ที่เราจะมองเห็นได้ จาก bone scan 
หมายความว่า กระดูกหัก กระดูกร้าว กระดูกมีการติดเชื้อ หรือมะเร็งทำลายก็ตาม ต้องมีการสร้างกระดูกใหม่เสียก่อนจึงจะเห็นจาก bone scan 
และทุกสาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดการเห็นด้วย bone scan ทั้งหมด 
bone scan ไม่มีความจำเพาะต่อโรคของกระดูก ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือไม่ ภาวะอื่นก็เป็นได้ ดังกล่าว 
แต่เราใช้ bone scan ในการตรวจหาตำแหน่งที่ต้องสงสัยว่าจะมีความผิดปกติ 
นั่นก็คือ bone scan จึงมีความจำเพาะต่อโรคต่ำ

MRI total body Bone Scan เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้แทนหรือร่วมกับ bone scan scintigraphy

จุดเด่นของการตรวจ MRI total body Bone Scan คือ

  1. ไม่มีรังสี
  2. ใช้เวลาทำไม่นานโดยประมาณ 30 นาที
  3. มีความจำเพาะต่อโรคสูงกว่า
  4. มีรายงานมากขึ้นว่าสามารถตรวจพบรอยโรคได้มากกว่า โดยเฉพาะที่กระดูกสันหลัง
  5. และช่วงนี้ทางศูนย์ประชาชื่นให้บริการ MRI total body Bone Scan ในราคาเพียง 12,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถูกกว่า PET-CTประมาณ5.5เท่า( PET-CTทำครั้งละประมาณ 65,000บาท)

ในการตรวจ MRI total body Bone Scan 

  1. ใช้ในการประเมินระยะของโรคมะเร็ง เพื่อค้นหาว่ามีมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกหรือไม่
  2. ติดตามผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังได้รับการรักษา
  3. วินิจฉัยและแยกโรค acute osteomyelitis, septic arthritis และ cellulitis
  4. ให้การวินิจฉัยและประเมิน bone viability ในผู้ป่วยโรค avascular necrosis และ bone infarction
  5. ให้การวินิจฉัยการหักของกระดูกในตำแหน่งที่ตรวจพบได้ยากจากการถ่ายภาพ x-ray
  6. ช่วยบอกตำแหน่งที่จะทำ bone biopsy
  7. ประเมินผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดกระดูกที่ไม่พบความผิดปกติจากการถ่ายภาพ x-ray
  8. สามารถเห็น soft tissue ทั้งร่างกายร่วมด้วยได้ในภาพถ่าย MRI total body Bone Scan

ท่อไตและไต

MR Urography คือการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะด้วยเครื่อง MRI 
ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ตรวจหานิ่วหรือความผิดปกติในทางเดินปัสสาวะ 
สามารถตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะได้ 
สามารถตรวจในคนที่ไตวายได้ (ในคนที่ไตวายจะทำ IVP และ RP ไม่ได้) 
สามารถตรวจในคนท้องหรือเด็กเล็กๆได้ เพราะไม่ต้องเจอรังสี 
สามารถตรวจในคนที่แพ้อาหารทะเล ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะแพ้ สารทึบรังสีพวก iodine contrasts ซึ่งใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในการทำ IVP(Intravenous pyelogram) และ RP(Retrograde pyelogram) 
ในผู้ที่เปลี่ยนไตแล้วก็ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นพิษของสารทึบรังสี (contrast nephrotoxicity) 

การฉีดสีของ mri นั้นจะใช้ยาคนละชนิดกับการตรวจ IVP และ RP เนื่องจากไม่ได้ใช้รังสี ยาที่ใช้เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยเฉพาะในการตรวจ mri เรียกว่า Gadolinium ปริมาณการฉีดยาจะน้อยกว่าประมาณ 1:10 ส่วนของการฉีดสีในเอ็กซเรย์ทั่วไป จึงมีโอกาสก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลืนไส้อาเจียน หรือแพ้ยา ต่ำมาก ในคนที่แพ้อาหารทะเล สามารถทำได้ โดยไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ในปี คศ. 1988 FDA ประกาศว่า Gadolinium ที่ใช้ใน MRI มีความปลอดภัยสูง ฤทธิ์ข้างเคียงมีเพียงเล็กน้อย คือ ปวดหัวเล็กน้อย หรือ คลื่นไส้ หรือมีช้ำตรงตำแหน่งที่ฉีด โอกาสที่แพ้ Gadolinium น้อยมากคือ น้อยกว่าหนึ่งในพัน Gadolinium ไม่เป็นสารกัมมันตรังสี และจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วทางไต

เส้นเลือดแดง/ดำ

MRA ตรวจสุขภาพของเส้นเลือดแดง(magnetic resonance angiography)

MRV ตรวจสุขภาพของเส้นเลือดดำ(magnetic resonance venography)